AD.

-----[FreeSplanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

กระเบื้องว่าว

กระเบื้องว่าว  บางคนอาจจะไม่รู้จักว่ากระเบื้องว่าวนั้นหน้าตาเป็นแบบใด มุงหลังคาออกมาแล้วเป็นแบบไหน ราคาจะแพงไหม หรือมีช่างที่สามารถมุงหลังคาแบบนี้ได้หรือไม่ ทำไมถึงนิยมใช้กันในสมัยก่อนและปัจจุบันนี้เรายังพบได้ในอาคารแนวอนุรักษ์ไทย หรือแม้กระทั่งรีสอร์ท                 กระเบื้องว่าว หน้าตาเป็นรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด เมื่อมุงเสร็จแล้ว เวลาเรามองขึ้นไปจะเห็นเป็นลายข้าวหลามตัดเรียงกันสวยงาม กระเบื้องว่าวนั้นมีหลายขนาดตั้งแต่ 8”x 8”,9”x 9”,12”x 12” และ 13”x 13” ที่เรานิยมมุงหลังคาในปัจจุบัน สีของกระเบื้องว่าวในตอนนี้มีหลายสีผลิตออกมาตามความต้องการของตลาดและของแต่ละบริษัท

ขนาดของกระเบื้องว่า 9 x 9 นิ้ว ระยะห่างแป 13 ซม. Center to Center
ความลาดชันหลังคาต่ำสุด 35 องศา
จำนวนการใช้งาน ขนาด 9 x 9 นิ้ว ใช้ 26 แผ่น/ตร.ม.
น้ำหนักคงที่ที่ใช้ในการออกแบบโครงหลังคา 9 x 9 นิ้ว หนัก 33.8 กก./ตร.ม.
ขนาดของกระเบื้องว่า 13 x 13นิ้ว ระยะห่างแป 21 ซม. Center to Center
ความลาดชันหลังคาต่ำสุด 45 องศา
จำนวนการใช้งาน ขนาด 9 x 9 นิ้ว ใช้ 12 แผ่น/ตร.ม.
น้ำหนักคงที่ที่ใช้ในการออกแบบโครงหลังคา 9 x 9 นิ้ว หนัก 38.4 กก./ตร.ม.

อุปกรณ์ครอบหลังคากระเบื้องว่าว 
กระเบื้องชายล่าง หนัก 2 กก./แผ่น กระเบื้องแผ่นเริ่ม ใช้ 3 แผ่น/ตรม.
กระเบื้องชายบน หนัก 2 กก./แผ่น กระเบื้องแผ่นปิด ใช้ 3 แผ่น/ตรม.
ครอบสันตะเฆ้,สันหลังคา หนัก 5.5 กก./ตัว สันหลังคา,สันตะเฆ้ ใช้ 3 ตัว/ตรม.
ปิดปลายครอบสันตะเฆ้ หนัก 3.5 กก./ตัว เฉพาะจุดที่ใช้
ครอบสันข้าง 3.0 กก./ตัว หนัก 3.0 กก./ตัว ตามแบบใช้ 3 ตัว/ม.
ปิดปลายครอบสันข้าง หนัก 3.0 กก./ตัว เฉพาะจุดที่ใช้
ครอบปิดจั่ว หนัก 7.0 กก./ตัว หน้าบัน / 1 ตัว
ครอบสามทาง หนัก 9.0 กก./ตัว เฉพาะจุดที่ใช้


การเตรียมโครงหลังคากระเบื้องว่าว
-ขนาด 9 x 9 นิ้ว
1. ความลาดเอียงของหลังคาของกระเบื้องว่าวนั้นระดับจันทันต้องมีมุมยกไม่น้อยกว่า 25-45 องศา และระดับหลังจันทันต้องเท่ากันทุกตัว
2. ระดับหลังไม้บัวเชิงชายต้องยกสูงกว่าหลังแป …….
3. แป แถว แรก 14-15 ซม. วัดจากเชิงชาย ให้วัดระยะจากขอบนอกของไม้บัวเชิงชายถึงหลังแป
4. แป แถว ที่ 2 วัดจากหลังแปแถวแรก Center to Center 13 ซม.
5. แป แถว ถัดไป ให้ ระยะห่างเท่าๆกันทุกช่วง 13 ซม. Center to Center จนถึงยอด
6. แป แถว บนสุด ที่สันหลังคาให้วัดจากจุดยอดของ จันทันถึงหลังแป 5-8 ซม. 2 ข้าง ต้องเท่ากัน


- ขนาด 13 x 13 นิ้ว
1. ความลาดเอียงของหลังคากระเบื้องว่าว ระดับจันทันต้องมีมุมยกไม่น้อยกว่า 25-45 องศา และระดับหลังจันทันต้องเท่ากันทุกตัว
2. ระดับหลังไม้บัวเชิงชายต้องยกสูงกว่าหลังแป ……..
3. แป แถว แรก 24 ซม. วัดจากเชิงชาย ให้วัดระยะจากขอบนอกของไม้บัวเชิงชายถึงหลังแป
4. แป แถว ทื่ 2 วัดจากหลังแปแถวแรก Center to Center 21 ซม.
5. แป แถว ถัดไป ให้ ระยะห่างเท่าๆกันทุกช่วง 21 ซม. Center to Center จนถึงยอด
6. แป แถว บนสุด ที่สันหลังคาให้วัดจากจุดยอดของจันทันถึงหลังแป 5-8 ซม. 2 ข้าง ต้องเท่ากัน


ข้อควรระวังของกระเบื้องว่าว คือ มีข้อจำกัด และรายละเอียดที่ต้องพิถีพิถัน…ในการมุงมากกว่า เหตุผลแรกอยู่ตรงเนื้อวัสดุที่ใช้ทำที่ดั้งเดิม หากเป็นกระเบื้องว่าวด่านเกวียน หรือกระเบื้องว่าวดินเผาสมัยก่อนที่ใช้ ” ดินเหนียว ” เป็นวัสดุหลักในการทำ ตัวเนื้อดินเองจะส่งผลต่อตัวหลังคาค่อนข้างสูง ทั้งเรื่องอมน้ำ อมความชื้น การบิดเบี้ยวของแต่ละแผ่นแต่ข้อดีคือราคาต่อแผ่นถูก งบประมาณอาจถึงครึ่งต่อครึ่ง หลายๆคนจึงมักนิยมเริ่มต้นปูกระเบื้องว่าวด้วยวิธีนี้ ซึ่งก็ต้องยอมรับข้อเสียคือ ความไม่สม่ำเสมอของวัสดุ ย่อม ทำให้เกิดปัญหาการปู และรั่วซึมได้ง่าย

ปัจจัยหลักที่ตัวกระ เบื้องจะอมน้ำหรือไม่นั้น สิ่งสำคัญ คือ “ระบบการอัดและการเผา” จะว่าทำไม เหตุผลก็คือถ้าแรงอัดที่ใช้ทำนั้นไม่ “สูง” พอ เนื้อของกระเบื้องว่าวก็จะเหลือช่องความพรุนสูง เยอะดังนั้นน้ำฝน – ความชื้นก็จะแทรกซึมลงไปในเนื้อกระเบื้องได้มากเป็นอัตราส่วนตามเช่นกัน

ด้วยสาเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมกระเบื้องว่าวด่านเกวียนหรือจากที่อื่นๆ ที่ใช้ดินเป็นวัสดุ จึงต้อง ” เคลือบมัน ” อีกครั้งหนึ่ง เพราะถ้าเป็นรุ่นไม่เคลือบ เวลาฝนตกตัวกระเบื้องจะอมความชื้น หลังฝนตกพอแดดออกจะมองเห็นร่องรอยความชื้นด่างๆ ในชั่วระยะเวลาหนึ่งก็จะหายไปในที่สุดก็จริง แต่ความชื้นที่หลงเหลือและฝังตัวอยู่จะทำให้เกิดราดำบนตัวผืนหลังคา

กระเบื้องว่าวสมัยใหม่ที่ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมของ จึงปรับปรุงวิธีการผลิต โดยใช้ ซีเมนต์ และเครื่องจักรอัดไฮโดรลิคแรงสูง เพื่อชดเชยข้อด้อยของการผลิตเดิม ทำให้รูพรุนของกระเบื้องน้อยลง และอัตราการดูดซึมน้อยกว่า 10% หรือเพียง 6-7 % เท่านั้น เนื่องจากเครื่องจักรที่ใช้มีแรงกดมากกว่า 100 ตัน / ตรม.และทำให้ขนาดของกระเบื้องว่าวได้มาตรฐานเท่ากัน ไม่มีส่วนบิดเบี้ยวของแต่ละแผ่น เหมือนการผลิตแบบเดิม

แต่ต้นทุนที่สูงขึ้น ก็ทำให้ราคาต่อแผ่นสูงขึ้นด้วย แต่ก็คุ้มค่า เมื่อพูดถึงคุณสมบัติการใช้งาน โดยเฉพาะการทำคันกันน้ำย้อนที่มีขนาดมาตรฐานเท่ากันทุกแผ่น ซึ่งเป็นเหตุผลหลักของข้อที่สอง เหตุผลข้อที่สองระบบ “กันรั่ว” หรือ “คันกันน้ำย้อน” คือ ร่องสันที่ใต้กระเบื้อง ซึ่งมีไว้ดัก หรือ ไว้กันน้ำฝนย้อนเข้านั่นเอง คันน้ำนี้ จำเป็นต้องมี เนื่องจากรูปทรงกระเบื้องว่าวเองส่งผลให้จุดที่จะต้องเจอน้ำฝนเข้ามาเยอะกว่ากระเบื้องชนิดอื่น เพราะมันทับซ้อนถึง 3 ทาง

จึงต้องเจอการเข้ามาของน้ำฝนถึง 3 ทาง เช่นกัน คือ ด้านล่าง 1 และด้านข้างอีก 2 ทาง เป็น 3 ทาง ถ้าเป็นกระเบื้องชนิดอื่นจะเจอทางเดียว คือ ด้านล่างของแผ่น ตรงนี้เองจึงเป็นจุดที่จะสร้างความปวดหัวให้ผู้ใช้ได้ เพราะถ้าไม่พิถีพิถันกับการมุง หรือไม่รู้วิธีมุงที่ถูกต้อง หรือเอาวิธีการมุงกระเบื้องทั่วไปมาใช้แล้ว จะรั่วซึมได้ง่ายกว่ากระเบื้องชนิดอื่นมาก ผู้ใช้จึงต้องรู้ข้อบังคับหลักๆของการปูกระเบื้อง
- องศาความลาดชันของการปู สูงกว่าการปูกระเบื้องแบบอื่น(นี่คือเหตุผลที่ช่างมุงทั่วไปที่ไม่มีประสบการณ์ไม่ทราบ)
- ควรใช้ “วัสดุรอง” มารองด้านล่างไว้ก่อน คล้ายๆ ปูวัสดุที่ทึบตันรองด้านล่างรับไว้เลย สำหรับช่างปูที่ไม่มีประสบการณ์การปูกระเบื้องว่าวมาก่อนการออกแบบของ” บ้าน “ต้องเหมาะกับอารมณ์ตามรูปลักษณ์กระเบื้องว่าวด้วย เพราะกระเบื้องว่าวมีลักษณะเฉพาะตัวสูง
- รูปแบบการปูกระเบื้องว่าวตามแบบโบราณนั้น เป็นวิธีและเทคนิคสำคัญที่ทำให้การปูกระเบื้องว่าวสวยงามและดูแลรักษาได้ง่าย และรายละเอียดแบบนี้ เป็นความรู้ที่ต้องทำการบ้านก่อนเท่านั้นเอง ถ้าปูแบบทั่วๆไป โดยที่ไม่ทราบข้อบังคับหลักๆในการปูก็จะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ฯลฯ

              ขณะเดียวกันการที่กระเบื้องว่าว จะต้องมีความพิถีพิถันในการปูสูง แต่ด้วยเอกลักษณ์ของกระเบื้อง และรูปแบบซึ่งเป็น design ของความย้อนยุค ที่ให้ความรู้สึกพิเศษ เมื่อผนวกรวมกับดีไซน์ของอาคารในสไตล์ที่เลือกใช้กระเบื้องว่าวแล้ว มักจะให้กลิ่นอายความคลาสสิคเฉพาะ กระเบื้องว่าวจึงยังคงได้รับความนิยมอยู่ตลอดข้ามยุคสมัยตลอดมา อาคารที่ทำการมุงด้วยกระเบื้องว่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...