สถานที่อันงดงามของเราตั้งอยู่ใน Western Ghats ที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลสาบและล้อมรอบด้วยเทือกเขา Sahyadri ที่ดิน 2 เอเคอร์ แต่ความต้องการของลูกค้าขอให้เราสร้างพาวิลเลียมเดียวขนาด 2100 ฟุต เพื่อหนีความวุ่นวายในชีวิตของเมืองมุมไบและเพื่อปลุกเร้าความรู้สึกของลูกค้า.
พาวิลเลียมระดับเดียวแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ หนึ่งสำหรับการมีส่วนร่วมกับมุมมองในระหว่างวันและอื่น ๆ เป็นสถานที่พักผ่อนที่เงียบสงบในเวลากลางคืน พื้นที่ความเป็นอยู่ไกลตัวและซึมผ่านทำให้ธรรมชาติสได้ พื้นที่ส่วนตัวจะเก็บตัวและการปกป้อง.
เรียบเรียงข้อมูล @ ฟรีแปลน
Architects : Khosla Associates
Location : Western Ghats, Maharashtra, India
Principals : Sandeep Khosla and Amaresh Anand
Design Team : Sandeep Khosla, Amaresh Anand, Oommen Thomas, Pratyusha Suryakanth and Moiz Faizulla
Project Year : 2017
Manufacturers : Accoya, Duravit, Grohe
Civil Contractor : Canwill Constructions.
มองหาแนวคิดสำหรับบ้านของคุณ และการสำรองข้อมูลในเว็บไซต์ของฉัน Looking for ideas for your home. And data backup in My website.
วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
15 แบบการจัดสวนน้ำพุ เสริมฮวงจุ้ยเรียกโชคลาภ
ศาสตร์ฮวงจุ้ยเชื่อว่า การเคลื่อนไหวของน้ำ เช่น น้ำพุ เปรียบเสมือนพลังที่ทำให้เกิดความมั่งคั่ง และน้ำที่ดีควรไหลเอื่อย ๆ ช้า ๆ แต่ไม่หยุดนิ่งหรือปล่อยให้แห้งเหือด ดังนั้นการจัดสวนน้ำพุจึงเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่นิยมนำมาใช้กับการจัดสวนหน้าบ้านและในบ้าน ซึ่งทิศที่เหมาะสมในการจัดสวนมี 3 ทิศ ได้แก่ ทิศเหนือ (หน้าที่การงาน) ทิศตะวันออก (สุขภาพ) และทิศตะวันออกเฉียงใต้ (ความมั่งคั่งและการเงิน)
สำหรับคนที่อยากจะหาซื้อน้ำพุมาจัดสวนเสริมฮวงจุ้ย สามารถหาซื้อได้ทั่วไปจากร้านของตกแต่งสวนทั่วไป ราคาอยู่ที่หลักร้อยเป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับขนาดและความสูงของน้ำพุ ส่วนวันนี้ตามกระปุกดอทคอมไปชมแบบการจัดสวนน้ำพุสวย ๆ 15 แบบที่นำมาฝากกันก่อน เผื่อจะได้ไอเดียไปจัดสวนน้ำพุเองที่บ้านยังไงล่ะ
ภาพจาก designfocus
ภาพจาก Richard P. Rauso, ASLA
ภาพจาก plan-it-earthdesign
ภาพจาก designsbyelizabeth
ภาพจาก designsbyelizabeth
ภาพจาก westoverld
ภาพจาก lotusgardenscapes
ภาพจาก lowes
ภาพจาก lucysmith
ภาพจาก terrascapeslandscapedesign
ภาพจาก lenkindesign
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Wendy Black Rodgers Interiors
ภาพจาก hometalk
ภาพจาก paulbangay
ภาพจาก decorfortheoutdoors
ขอขอบคุณข้อมูลจาก thespruce และ fengshuipundi
หลักการตั้งศาลตี่จู่เอี๊ยในบ้าน พร้อมวิธีไหว้บูชาอย่างถูกต้อง
เพราะวัฒนธรรมจีนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังนั้นเราจึงมีโอกาสได้เห็นการทำพิธีและสักการะบูชาเจ้าที่และเทพเจ้าอยู่บ่อย ๆ ซึ่งการตั้งศาล “ตี่จู่เอี๊ย” ก็เป็นหนึ่งในวัตนธรรมของคนจีนในไทยที่ปฏิบัติสือต่อกันมาอย่างยาวนาน เพราะเชื่อว่าเทพตี่จู่เอี๊ยจะช่วยปกป้องคุ้มครอง เสริมโชคลาภและสร้างความเป็นสิริมงคลให้ตนเองและคนในครอบครัวนั่นเอง แต่ก่อนที่จะตั้งศาลตี่จู่เอี๊ยได้นั้น กระปุกดอทคอมมีความรู้และประวัติความเป็นมา รวมถึงการวางศาลในบ้านและการไหว้ที่ถูกต้องมาฝากกันค่ะ
“ตี่จู่เอี๊ย” คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คอยดูแล ปกป้อง คุ้มครองบ้านและคนในบ้าน เป็นเทพเจ้าองค์ที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ซึ่งการตั้งศาลตี่จู้เอียะหรือศาลเจ้าจีนนี้ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษคนจีนกลุ่มรุ่นแรก ๆ ที่เข้ามาในไทย ชาวจีนในยุคนั้นต้องการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับเทพเจ้าที่คอยปกป้องคุ้มครองมนุษย์ จึงได้มีการนำกระดาษแดงมาเขียนด้วยหมึกสีดำเป็นอักษรภาษาจีนว่า “ตีจู่ซิ่งอุ่ย” หมายถึง ที่สถิตของเทพเจ้า เพื่อให้เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าและสื่อว่าบ้านหลังนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดูแลอยู่ แต่เมื่อยุคสมัยเริ่มเปลี่ยนไป รูปการตั้งตี่จู่เอี๊ยจึงมีการเปลี่ยนแปรง จากกระดาษกลายเป็นกระจกพิมพ์สี และพัฒนามาเป็นการตั้ง "ศาลตี่จู่เอี๊ย" อย่างในปัจจุบัน
หากบ้านไหนทำการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับเทพเจ้าที่คอยปกป้องคุ้มครอง ก็จะมีแต่สิ่งดี ๆ ที่เป็นมงคลสุขเข้ามาในบ้าน ยิ่งถ้าตั้งศาลตี่จู่เอี๊ยได้ถูกหลักฮวงจุ้ยแล้วล่ะก็ จะยิ่งเพิ่มพูนโชคลาภ ร่ำรวยเงินทอง มีอำนาจบารมี และเสริมดวงชะตาด้านต่าง ๆ ในชีวิตให้เป็นไปในทางที่ดีตามที่ตำราจีนว่าไว้
ลักษณะและความหมายที่อยู่ภายในศาลตี่จู่เอี๊ย
1. คำว่า “ตี่จู่เอี๊ย" แปลว่า เทพเจ้าแห่งธาตุดิน
2. ป้ายบนหน้าศาลมี 2 แบบ
- “กิมเง็กป๋อตึ้ง” แปลว่า เงินทองไหลมาเต็มฟ้า และเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
- “จูป๋อตึ้ง” แปลว่า สถานที่รวบรวมเงินทองมากมาย
3. อักษารเดี่ยว 2 ตัวที่อยู่ระหว่าง 3 แถวอักษร (ตง ไท)
- หากอ่านตามเสียงไทยจะได้ว่า “ไทแทนฮวง” และคำว่า “ตงแทนตึ้ง” แปลว่า คนจีนที่มาปักหลักในประเทศไทย
4. อักษรจีนแถวกลางตัวใหญ่ ที่อ่านจากข้างบนลงข้างล่าง
- “ตี่ จู้ ซิ้ง อุ่ย” แปลว่า สถานที่สถิตของเทพเจ้าและสถานที่สถิตของเจ้าที่
5. คำอวยพรเป็นอักษรเรียงทั้ง 2 ข้าง ทั้งซ้ายและขวา
- ด้านซ้ายคือ “ซี่ ฮึง กิม งิ้ง จิง” แปลว่า ขอให้เงินทองไหลมาเทมาจากทั้ง 4 ทิศ
- ด้านขวาคือ “โหงว โหล่ว ไช้ ป๋อ ไล้” แปลว่า ครบถ้วนธาตุทั้ง 5 และโชคลาภเงินทองให้มาหา
6. เสาอักษรมงคล
- เสาด้านซ้ายคือ “กิม งิ้ง ช่วง ตี่ ที” แปลว่า เงินทองให้อยู่แต่ในที่
- เสาด้านขวาคือ “ฮก ลก จู เทียน ไล้” แปลว่า ลาภรวยไหลมาจากฟ้า
7. ฐานของศาลตี่จู่เอี๊ย มีหลายแบบและมีความหมายแตกต่างกันดังนี้
- ฐานมังกร หมายถึง ความน่าเกรงขาม ช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายและช่วยควบคุมการปกครองคนในบ้าน
- ฐานโหงวก้วย (ผลไม้มงคลทั้ง 5 ชนิด) หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์มากมาย กินเท่าไรก็ไม่หมด
- ฐานอักษรมงคล 5 ตัว (เจียว ใช้ จิ๊ง ป้อ) หมายถึง โชคลาภ เงินทอง และทรัพย์สมบัติจะไหลมาเทมา
8. สัตว์มงคลในศาล มีดังนี้
- หลังคามังกร ม่านมังกร เสามังกร และฐานมังกร หมายถึง ความเป็นสิริมงคลที่ดีที่สุด ทรงอำนาจบารมี ยิ่งใหญ่ มั่นคง และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์
- มุมหลังคาหงส์มงคลด้านหลัง หมายถึง ความสง่างาม อ่อนหวาน สุภาพเป็นผู้ดี
- ประตูชัยปลาหลีฮื้อ หมายถึง การประสบความสำเร็จ
- มุมหลังคาปลาหลีฮื้อ หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง และมั่นคง
- รั้วกิเลนคู่ด้านหน้า หมายถึง เมตตาปราณี จิตใจดี หากเป็นคนจิตใจดี กิเลนจะช่วยเหลือ แต่ถ้าเป็นคนจิตใจชั่วร้าย กิเลนไม่ตอบรับ อีกทั้งกิเลนช่วยสลายพลังปราณชี่พิฆาต และเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดีได้
หลักการตั้งศาลตี่จู่เอี๊ย
ทิศทางในการตั้งศาลตี่จู่เอี๊ยเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด แม้จะมีหลักการตั้งคล้ายศาลพระภูมิโดยจะต้องตั้งให้ติดดินเพื่อให้เทพเจ้าได้รับพลังานจากธาตุดิน แต่ก็ตั้งตามหลักทั้ง 4 หลักดังนี้ต่อไปนี้ด้วย
- ทิศด้านหลังของตี่จู่เอี๊ย : ไม่ควรอยู่ใกล้ชิดกับประตู บันได ห้องน้ำ ห้องครัว หรือเตาไฟ แนะนำให้พิงใดด้านหนึ่งโดยไม่มีการเคลื่อนย้าย
- ทิศด้านหน้าของตี่จู่เอี๊ย : ต้องเป็นบริเวณพื้นที่โล่งและต้องมีแสงสว่างมากเพียงพอ เพื่อเอาไว้เปิดรับโชคลาภต่าง ๆ
- ทิศด้านบนของตี่จู่เอี๊ย : ต้องไม่มีคานบ้านหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นวางอยู่เหนือ ไม่เช่นนั้นศาลจะถูกพลังเหล่านั้นกดทับจนพลังลดน้อยลง
- ทิศด้านใต้ของตี่จู่เอี๊ย : ต้องเป็นพื้นธรรมดาไม่มีฐานรอง หากใครพอมีกำลังหาแผ่นเงิน แผ่นทอง หรือเพชรนิลจินดามาใส่ไว้ด้านใต้ได้ ก็จะยิ่งช่วยเสริมพลังให้เทพเจ้า เนื่องจากสิ่งของจำพวกนั้นถือเป็นธาตุดิน
การไหว้บูชาเทพเจ้าตี่จู่เอี๊ย
การไหว้บูชาตี่จู่เอี๊ยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การไหว้ประจำวันและการไหว้ตามวันพระจีน ต่างกันตรงที่ของไหว้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งการไหว้ตามวันพระจีนมีแค่เดือนละ 2 ครั้งเท่านั้น ซึ่งไม่นับรวมกับการไหว้เจ้าตามเทศกาล อย่าง ตรุษจีน สารทจีน รวมถึงการไหว้รับเทพ เพราะมีของไหว้ไม่เหมือนกัน
วิธีไหว้ตี่จู่เอี๊ยประจำวัน
- ต้องเตรียมของไหว้ ดังต่อไปนี้ น้ำชา 5 ถ้วย น้ำเปล่า 3 ถ้วย และกระดาษไหว้ 1 ชุด - ขั้นตอนการไหว้ เริ่มจากจุดธูป 7 ดอก ไหว้เคารพเจ้าที่ในบ้านเป็นลำดับแรก ขอพร แล้วปักธูปลงกระถาง ซึ่งเป็นการไหว้เทพประจำประตูทั้งซ้ายและขวา ต่อมานำกระดาษไปเผาในถังเผาบริเวณหน้าบ้านและห้ามเขี่ยขี้เถ้าในถังเด็ดขาด ต้องปล่อยให้มอดไปเอง
วิธีไหว้ตี่จู่เอี๊ยตามวันพระจีน
- ต้องเตรียมของไหว้ ดังต่อไปนี้ น้ำชา 5 ถ้วย น้ำเปล่า 3 ถ้วย ขนมกูไช่สีแดง ส้ม 5 ลูก กระดาษไหว้ 1 ชุด - ขั้นตอนการไหว้ ให้เริ่มจากจุดธูป 7 ดอก แล้วไหว้เคารพเจ้าที่ในบ้านก่อนเหมือนกับการไหว้ประจำวัน แต่หลังจากปักธูปหน้าบ้านเสร็จให้รอสักพัก แล้วทำการลาของไหว้และกระดาษให้เรียบร้อย
ของไหว้องค์ตี่จู่เอี๊ย
1. กระถางธูป ในกระถางธูปควรมีขี้เถ้าเอาไว้ปักธูป แต่ถ้าเป็นกระถางขนาดใหญ่ให้ใส่ธัญพืชทั้ง 5 อย่าง ได้แก่ ข้าวเปลือก ข้าวสาร ข้าวเหนียวแดง เมล็ดถั่วเขียว เมล็ดถั่วแดง และเม็ดสาคูปนลงไปในกระถาง นำผ้าแดง (อั่งติ้ว) มาติดไว้ที่ตรงกระถางด้วยนะคะ เพราะสิ่งเหล่านี้ต่างก้สื่อความหมายไปในทางที่เป็นสิริมงคล
2. ธูป 5 ดอก
3. วางเหรียญ 10 บาท จำนวน 5 เหรียญไว้ในกระถางธูป
4. แจกันใส่ดอกไม้สด 1 คู่
5. ถ้วยน้ำชา 5 ถ้วย
6. ถ้วยเหล้า 5 ถ้วย
7. ผลไม้มงคล 5 อย่าง เช่น ส้ม สับปะรด องุ่น กล้วย และลูกท้อ เป็นต้น
8. ฮวกก้วยหรือขนมถ้วยฟูของคนจีน 1 ชิ้น
9. ขนมอี้หรือสาคูแดง 5 ถ้วย
10. ขนมจันอับ
11. ข้าวสวย 5 ถ้วย
12. เจฉ่าย
13. ซาแซ** หรือ โหง่วแซ***
***โหง่วแซ คือ การจัดของไหว้แบบชุดใหญ่มี 5 อย่าง ดังนี้ ไก่ หมู ตับ ปลา และกุ้งมังกร (แต่ถ้าหากุ้งมังกรไม่ได้ จะใช้เป็นเป็ดหรือปลาหมึกแห้งก็ได้ค่ะ)
หากใครมีแผนไว้จะตั้งศาลตี่จู่เอี๊ย เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองและคนในบ้านแล้วล่ะก็ อย่าลืมศึกษาถึงที่มาและวิธีการทำพิธีต่าง ๆ เหล่านี้และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก bjmarble, Sanjeenthailandonline และ Avivaspirit
บ้านไม้กับแนวคิดในการใช้วัสดุแบบเดิมและการออกแบบที่มีความยืดหยุ่น
โครงการนี้ประกอบด้วยกล่องไม้และบล็อกคอนกรีต เกี่ยวข้องกับแนวคิดในการใช้วัสดุแบบเดิมขณะที่สร้างบนพื้นที่สามารถชมวิวในชนบท ลูกค้าที่อาศัยอยู่ใน Dublin ตัดสินใจที่จะลงทุนสร้างบ้านใน Donegal ในเวลาที่พวกเขาไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะย้ายอย่างถาวร หรือใช้บ้านเป็นที่พักสำหรับวันหยุด สำหรับการออกแบบที่มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับ; (ก) บ้านที่มีห้องนอน 2/3 หรือ (ข) อพาร์ทเมนต์วันหยุดสองแห่งที่อยู่ใต้หลังคาเดียวกันหรือ (ค) บ้านที่มีห้องนอนติดกัน.
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นที่ดีที่สุดขององค์ประกอบคงที่ของช่วงสั้น ๆ (เช่นห้องน้ำ ห้องครัว ทางเข้าบันไดยูทิลิตี้และบริการ) จะอยู่ภายในบล็อกที่คงที่ ซึ่งสร้างขึ้นจากคอนกรีตอนุญาตให้ใช้ส่วนที่เหลืออื่น ๆ ของอาคาร (เช่นนั่งนอนรับประทานอาหารและทำงาน) เสรีภาพและความคล่องตัวในการจัดตำแหน่งขึ้นอยู่กับความต้องการทางโปรแกรมของลูกค้า ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอยู่ในกล่องไม้ที่หลั่งเช่นเดียวกับที่วางอยู่คู่ขนานกับบล็อกคอนกรีต.
เรียบเรียงข้อมูล @ ฟรีแปลน
Architects : MacGabhann Architects
Location : Co. Donegal, Ireland
Design Team : Antoin MacGabhann, Tarla MacGabhann, Orla McKeever
Area : 125.0 sqm
Project Year : 2002
Photographs : Ros Kavanagh
เพื่อให้มีความยืดหยุ่นที่ดีที่สุดขององค์ประกอบคงที่ของช่วงสั้น ๆ (เช่นห้องน้ำ ห้องครัว ทางเข้าบันไดยูทิลิตี้และบริการ) จะอยู่ภายในบล็อกที่คงที่ ซึ่งสร้างขึ้นจากคอนกรีตอนุญาตให้ใช้ส่วนที่เหลืออื่น ๆ ของอาคาร (เช่นนั่งนอนรับประทานอาหารและทำงาน) เสรีภาพและความคล่องตัวในการจัดตำแหน่งขึ้นอยู่กับความต้องการทางโปรแกรมของลูกค้า ชิ้นส่วนเหล่านี้มีอยู่ในกล่องไม้ที่หลั่งเช่นเดียวกับที่วางอยู่คู่ขนานกับบล็อกคอนกรีต.
เรียบเรียงข้อมูล @ ฟรีแปลน
Architects : MacGabhann Architects
Location : Co. Donegal, Ireland
Design Team : Antoin MacGabhann, Tarla MacGabhann, Orla McKeever
Area : 125.0 sqm
Project Year : 2002
Photographs : Ros Kavanagh
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)