AD.

-----[FreeSplanS.com]-----ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์-----

วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

๓๐ วัน ๓๐ ภาพ : พระองค์จะสถิตอยู่ในดวงใจปวงชนตลอดไป

สวัสดีทุกๆท่านครับ ขออนุญาตนำภาพชุดนี้ที่ผมถ่ายไว้ มาลงในเวบ freesplans นะครับ อยากให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ต่อไปในภายภาคหน้า สานต่อให้คนรุ่นหลัง เผื่อจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ


พระองค์จะสถิตอยู่ในดวงใจปวงชนตลอดไป
       โปรเจคนี้เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สวรรคตครับ คือวันที่ 13 ตุลาคม พศ.2559 ... หลังจากที่ทราบข่าว อารมณ์ในตอนนั้นไม่สามารถถ่ายอะไรขำๆ ตลกๆ ต่อไปได้เหมือนที่เคยทำ เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็จะเจอแต่พระพักต์ของพระองค์ท่าน ทั้งเหรียญ ทั้งแบงค์ เลยเริ่มถ่ายอะไรที่ระลึกถึงพระองค์ท่าน แต่ทีนี้ระหว่างนั้นกลับทำให้ตระหนักคิดย้อนถึงคำพูดที่ในหลวงท่านเคยตรัสไว้ว่า

"อย่าจำตัวฉัน แต่ให้จำประโยชน์ที่ฉันทำ"

จึงเริ่มศึกษาหาอ่านพระราชดำรัสและโครงการต่างๆในพระราชดำริ และก็เลือกๆมาทำออกมาเป็นภาพ ซึ่งตั้งใจไว้ว่าจะทำทุกวัน จนครบ 30 วันก่อนและจะเผยแพร่ออกไป ซึ่งตอนนี้ก็ครบแล้ว จึงอยากนำเสนอให้ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติได้รับรู้ครับ ขอเรียงเป็นวันไปตั้งแต่วันที่ 13 นะครับ


13.10.2016 : " จะทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดต่อไป เพื่อในหลวงของเรา "
13 ตุลาคม พศ.2559
 14.10.2016 : " พระองค์จะสถิตอยู่ในดวงใจปวงชลตลอดไป ขอพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย "
พระองค์จะสถิตอยู่ในดวงใจปวงชลตลอดไป ขอพระองค์เสด็จสู่สวรรคาลัย
 15.10.2016 : "เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล"
เสด็จสู่ฟากฟ้าสุราลัย พระมหากรุณาธิคุณจารึกในใจไทยชั่วกาล
 16.10.2016 : "พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์"
พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
 17.10.2016 : " เรา รัก ในหลวง "
เรา รัก ในหลวง
 18.10.2016 : "ท่านยังคงอยู่ในใจของคนทั้งประเทศ ตราบนานเท่านาน"
ท่านยังคงอยู่ในใจของคนทั้งประเทศ ตราบนานเท่านาน
 19.10.2016 : "พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นคีตกวีและนักดนตรีที่ชาวโลกยกย่อง ทรงพระปรีชาสามารถในการทรงดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์เพลง แยกและเรียบเรียงเสียงประสาน ทรงเป็นครูสอนดนตรีแก่ข้าราชบริพารใกล้ชิดและทรงซ่อมเครื่องดนตรีได้ด้วย ตลอดจนทรงเชี่ยวชาญในศิลปะแขนงต่างๆ อย่างแท้จริง สมกับที่พสกนิกรชาวไทยน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “อัครศิลปิน” 
พระอัจฉริยภาพทางดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 20.10.2016 : "...คราวใดที่ชาวไทยมีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อประเทศชาติแล้ว ชาติก็ได้รอดพ้นจากภัยพิบัติสู่ความสุขความเจริญ แต่คราวใดที่ขาดความสามัคคีกลมเกลียวกัน ก็ต้องประสบเคราะห์กรรมกันทั้งชาติ จึงเป็นหน้าที่ของเราทั้งหลาย ที่จะต้องร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด..." พระบรมราโชวาท ในพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์ ณ ลานพระราชวังดุสิต 3 ธันวาคม 2505
พระบรมราโชวาท ในพิธีสวนสนามทหารรักษาพระองค์
ณ ลานพระราชวังดุสิต
 21.10.2016 : " พ่อไม่เคยบอกให้เรารักพ่อ ... แต่พ่อบอกให้เรารักกัน "
พ่อไม่เคยบอกให้เรารักพ่อ ... แต่พ่อบอกให้เรารักกัน
 22.10.2016 : " วันที่ 22 ตุลาคม พศ.2559 " วันนี้ผมและครอบครัวได้เดินทางไปยังท้องสนามหลวง เพื่อไปร่วมจุดเทียนและร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ตั้งแต่เดินทางไปถึงประมาณทุ่มกว่าๆ ฝนก็เริ่มตกลงมาอีกครั้ง จนกระทั่งใกล้ถึงเวลาร้องเพลง ซึ่งก็คือ 4 ทุ่มตรง ... ฝนก็หยุดตกขึ้นมาซะอย่างงั้น ... จึงทำให้การบันทึกภาพประวัติศาสตร์รอบสุดท้ายในวันนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ภาพที่ผมถ่ายคนตัวจิ๋วในวันนี้ ดูเผินๆก็คงไม่มีความหมายอะไร แต่จริงๆแล้วมันคือเทียนที่ผมและพ่อแม่ ร่วมจุดพร้อมกับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี พร้อมๆกับผู้คนนับแสนในท้องสนามหลวง
ผู้คนนับแสนในท้องสนามหลวง
 23.10.2016 : รักพ่อ ควรนำคำสอนของพ่อไปใช้ ใกล้ตัวที่สุดคือการอยู่อย่างพอเพียง ประหยัดและอดออม
รักพ่อ ควรนำคำสอนของพ่อไปใช้
 24.10.2016 : " สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์ "
สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
 25.10.2016 : " King Bhumibol, the Beloved King of Thai people and people around the world "
King Bhumibol, the Beloved King of Thai people and people around the world
 26.10.2016 : " แม้พสกนิกรชาวไทยจะเศร้าโศกเพียงใด แต่ท่านยังคงสว่างไสวอยู่ในหัวใจชาวไทยชั่วกาลนาน "
แม้พสกนิกรชาวไทยจะเศร้าโศกเพียงใด แต่ท่านยังคงสว่างไสวอยู่ในหัวใจชาวไทยชั่วกาลนาน
 27.10.2016 : เงินแต่ละบาทใช่ว่าจะหามาได้โดยง่าย เวลาจะใช้เงินควรมีสติ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เท่าที่จำเป็น ไม่มากเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป " เศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินนั้น หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตนเอง " พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เงินแต่ละบาทใช่ว่าจะหามาได้โดยง่าย
 28.10.2016 : “ เปลี่ยน มัน ให้ เป็น เงิน ” สำหรับชื่อของโครงการ “ชั่งหัวมัน” เกิดจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล มีชาวบ้านนำมันเทศซึ่งเป็นพืชที่ปลูกอยู่ในท้องถิ่นมาถวาย เมื่อต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ เลยรับสั่งให้เจ้าหน้าที่นำหัวมันเทศนั้นไปวางบนตาชั่งในห้องทรงงาน และเมื่อเสด็จกลับมาหัวหินทรงพบว่ามันเทศหัวนั้นแตกใบออกมา จึงมีรับสั่งให้นำหัวมันเทศนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวล แล้วมีพระราชดำรัสให้จัดหาพื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศซึ่งเป็นพืชที่สามารถปลูกขึ้นได้ทุกที่ แม้ว่าจะวางตั้งทิ้งไว้บนตาชั่งนั่นเอง " หัวมันบนตาชั่งยังขึ้นได้ แล้วที่แห้งแล้งขนาดไหน...มันก็ต้องขึ้นได้ "
เปลี่ยน มัน ให้ เป็น เงิน
 29.10.2016 : ไม่ใช่ไม่ยอมใช้เลย...แต่ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากที่สุดเท่าที่จะมากได้...ไม่ใช้แบบเหลือทิ้งเหลือขว้าง “ยาสีพระทนต์ของในหลวง” เรื่องราวความประทับใจที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคุณจิก ประภาส ชลศรานนท์ ซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๓ คอลัมน์ “คุยกับประภาส”
ยาสีพระทนต์ของในหลวง
 30.10.2016 : "สายสร้อยรอบคอครึ่งเส้น ถุงเท้าขาวทั้ง ๔ ขา จมูกแด่น หางม้วนปลายดอกสีขาว" ... คือลักษณะเด่นของคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยงลำดับที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... คุณทองแดงป็นสุนัขที่กตัญญูรู้คุณเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับแม่มะลิ ซึ่งเป็นเสมือนแม่นมของคุณทองแดง ที่แม้เมื่อแยกกันอยู่แล้ว ทุกครั้งที่คุณทองแดงพบกับแม่มะลิ จะแสดงความเคารพแม่มะลิอยู่เสมอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงยกย่องว่า... "ผิดกับคนอื่นที่เมื่อกลายมาเป็นคนสำคัญแล้ว มักจะลืมตัว และดูหมิ่นผู้มีพระคุณที่เป็นคนต่ำต้อย" ในรูปคือคุณทองแดงและหลาน วาดโดยคุณสุวิทย์ หลีดุลย์ ข้อมูลเพิ่มเติม http://ku.ac.th/e-magazine/jun49/know/tong.htm
สายสร้อยรอบคอครึ่งเส้น ถุงเท้าขาวทั้ง ๔ ขา จมูกแด่น หางม้วนปลายดอกสีขาว
 31.10.2016 : "นมอัดเม็ดจิตรลดา" ... จากปัญหานมล้นตลาด สู่ของฝากยอดนิยม ในปี 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศเดนมาร์ก และทรงศึกษาการทำฟาร์มโคนมเพื่อเป็นอาชีพใหม่แก่เกษตรกรไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต สวนจิตรลดา จัดตั้งเป็นโครงการส่วนพระองค์ พระราชทานโรงโคนมสวนจิตรลดาในปี 2505 เพื่อเลี้ยงโคนมเพื่อศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จะเป็นแนวทางในการต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ และอาชีพที่เลี้ยงดูชีวิต และปากท้องของพสกนิกรชาวไทย ให้ได้อยู่ดีมีสุข สุขภาพแข็งแรง ตามแบบฉบับเศรษฐกิจพอเพียง เมื่อเหล่าเกษตรกรโคนมในประเทศไทย ประสบปัญหาภาวะนมสดล้นตลาด 2512 พระองค์จึงมีพระราชดำริให้ศึกษาค้นคว้าหาความเป็นไปได้ที่จะแปรรูปน้ำนมดิบเป็นนมผง เพื่อให้เก็บไว้ได้นาน โรงนมผงสวนดุสิต นอกนี้ยังทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งศูนย์รวมนมเปิดรับซื้อนมสดจากเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และนำนมสดเหล่านั้นมาผ่านกระบวนการผลิต และจัดจำหน่ายในราคาย่อมเยา เพื่อให้ประชาชนได้ดื่มนมที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้มากขึ้น ในปี 2527 จึงได้เริ่มมีการผลิตนมอัดเม็ด เพื่อต่อยอดจากผลิตภัณฑ์นมผง เป็นการแปรรูปจากผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ เพิ่มเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนชาวไทยได้บริโภคอาหารดีมีประโยชน์ ในราคาที่ย่อมเยาเหมือนเดิม ข้อมูลจาก brandbuffet,โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา, health.sanook.com,http://kanchanapisek.or.th/kp1/sdmtp_th.html
นมอัดเม็ดจิตรลดา
 1.11.2016 : " โครงการพระราชดำริฝนหลวง " โครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดาร ๑๕ จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อน ทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และการเกษตร เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงกรุงเทพมหานคร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงเข้าเฝ้าฯ แล้วพระราชทานแนวความคิดนั้นแก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรกโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน ๑ ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลอง ในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้นไปจากสายตาไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผล โดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า "การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้" ข้อมูลจาก กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
โครงการพระราชดำริฝนหลวง
 2.11.2016 : " ในหลวงกับสมเด็จย่า เปลี่ยนฝิ่นเป็นแมคคาเดเมียอันแสนอร่อย " โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นโครงการอันเนื่องจากพระราชดำริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในการแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องกว่า 40 ปี ทรงสัมผัสความทุกข์ยากของชาวบ้านบนดอยตุงซึ่งมีชีวิตอยู่ในวังวนของการปลูกและค้ายาเสพติด อีกทั้งวงจรการค้ามนุษย์ซึ่งกลายเป็นปัญหาสังคมอย่างไม่จบสิ้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเล็งเห็นถึงต้นเหตุแห่งปัญหาว่าเกิดจากความยากจน ความไม่รู้ และการขาดโอกาสในชีวิตของผู้คนในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร จึงทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่ต้องหยุดวงจรแห่งความทุกข์ยาก โดยพัฒนาคนอย่างมีบูรณาการ ควบคู่ไปกับด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสร้างสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ไปในเวลาเดียวกัน โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อให้ชุมชนดอยตุงสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีคุณภาพต่อเนื่อง โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 บนพื้นที่ดำเนินงาน 93,615 ไร่ ในเขตอำเภอแม่จัน อำเภอแม่ฟ้าหลวง และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ครอบคลุม 29 หมู่บ้านของชนเผ่าอาข่า ลาหู่ จีนก๊กมินตั๋ง ไทใหญ่ ไทลื้อ และไทลัวะ ประมาณ 11,000 คน ข้อมูลจาก www.doitung.org
เปลี่ยนฝิ่นเป็นแมคคาเดเมียอันแสนอร่อย
 3.4.5.11.2016 : " เดินทางพ่อ - แม่ลาน้อย " . เป็น 3 ภาพ ที่ต่อแล้วเป็นภาพเดียวกัน . ภาพอาจจะดูแน่น ๆ เยอะ ๆ ... แต่รู้ไหมครับว่า ตลอด 3 วันที่ได้ไปร่วมโครงการนี้ ยังมีเรื่องราวอีกมากที่ผมไม่สามารถใส่ลงไปในเฟรมได้หมด มีรายละเอียดอีกมากที่เมื่อครบ ๓๐ วันผมจะค่อยๆเรียบเรียงและเล่าให้ทุกๆท่านฟัง ( แต่ตอนนั้นท่านอาจจะได้อ่านจากเพื่อนๆร่วมทริปผมไปกันหมดแล้วก็ได้นะ ขยันและจริงจังกันมากจริงๆ ^ ^" ) . #เดินทางพ่อ เป็นหนึ่งในโครงการ #สานต่อที่พ่อทำ คร่าวๆคือจะเป็นการคัดเลือกคนและพาไปยังสถานที่ 5 แห่ง (ผมคือทริปที่ 2 คือที่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ) ซึ่งเป็นการสานต่อสิ่งที่ในหลวงท่านทรงสร้างและพัฒนาเอาไว้ . การไปในครั้งนี้ คนละเรื่องเลยกับการท่องเที่ยวอื่นๆที่ผ่านมา . การไปในครั้งนี้ เราได้สัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านจริงๆ และรับรู้เรื่องราวจากปากคนจริงๆที่ได้มีโอกาสพูดคุยและทำงานกับพระองค์ท่าน การฟังไปพร้อมๆกับการมองสายตาและท่าทาง ที่ตลอดระยะเวลาในการพูดมันเอ่อล้นไปด้วยความรักและความเสียใจ . เราได้ทราบประวัติความเป็นมาของชุมชนที่เราไปเยี่ยม . เราได้เดินป่า ขึ้นเขา ตามรอยเท้าพระองค์ท่าน ได้รับฟังเรื่องราวที่น่าประทับใจและประวัติความเป็นมามากมายตลอดทางที่ย่ำเท้าก้าวเดิน . เราได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงตั้งแต่การขยุ้มดิน หยอดเมล็ดพืช ไปจนถึงสัมผัสผลผลิตที่มากไปด้วยคุณภาพ . เราได้เริ่มต้นตั้งแต่เก็บเมล็ดกาแฟ เอาไปตำในครก คั่ว ป่น ไปจนถึงการนำมาเป็นสีย้อมผ้า . เราได้เดินขึ้นไปบนยอดเขาเพื่อที่จะไปเจอโรงเลี้ยงแกะเล็กๆ ที่มีแม่แกะเพิ่งคลอดลูกออกมาไม่กี่นาที ได้ลองเอากรรไกรตัดขนแกะ ไปจนถึงนำมาสางและม้วนใช้เป็นเส้นด้ายเพื่อถักทอเป็นหมวก ย่าม และผ้าพันคอ . แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในทุกๆกิจกรรม จะต้องมีเรื่องราวของพระองค์ท่านสอดแทรกอยู่ในนั้นเสมอ เพราะถ้าท่านไม่เสด็จมาในวันนั้น ก็คงจะไม่มีวันนี้ . นอกจากความประทับใจในกิจกรรมและเรื่องราวของพระองค์ท่าน ก็คงไม่พ้นมิตรภาพที่ดีมากๆ จากเพื่อนร่วมทริปและทีมงาน ขอให้สานต่อที่พ่อทำต่อไป และพวกเราก็จะสานต่อที่พ่อทำด้วยเช่นกันครับ . #WalkofTheKing

เดินทางพ่อ - แม่ลาน้อย

เดินทางพ่อ - แม่ลาน้อย

เดินทางพ่อ - แม่ลาน้อย

เดินทางพ่อ - แม่ลาน้อย
 6.11.2016 : "ไบโอดีเซล จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์" ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2544 อีกทั้งในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี http://king.kapook.com/
ไบโอดีเซล
 7.11.2016 : "ช้างป่าควรอยู่ในป่า" ต้นแบบแก้ปัญหาความขัดแย้ง "คนกับช้าง" เป็นโครงการที่มีจุดประสงค์ เพื่อให้ช้างสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยดั้งเดิมของสัตว์ป่า ท่ามกลางปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และการบุกรุกแหล่งที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ป่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้แก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว โดยใช้รูปแบบในการฟื้นฟู เมื่อช้างมีอาหารรับประทานก็จะไม่มารบกวนชาวบ้านอีกต่อไป อุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานให้ดำเนินการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่าง "คนกับช้าง" ในรอยต่อพื้นที่ป่าธรรมชาติและพื้นที่เกษตรกรรม ช่วยกันผลักดันให้เป็น "โครงการต้นแบบเพื่ออนุรักษ์ช้างป่า แบบบูรณาการ" ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนจากทุกภาคส่วน บนฐานข้อมูลทุกมิติทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการในระยะยาวอย่างเป็นระบบ สนองแนวพระราชดำริ " ช้างป่าควรอยู่ในป่า " ขอบคุณข้อมูลจากเวบ Oknation
ช้างป่าควรอยู่ในป่า
 8.11.2016 : “ข้าวอร่อย” ในหลวงทรงพระราชทานชื่อรากฟันเทียม “ข้าวอร่อย” ( เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2554 ) ในโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ โครงการรากฟันเทียมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุด้อยโอกาสที่มีปัญหาในการใส่ฟันปลอม ซึ่งเทคโนโลยีรากฟันเทียมของไทยนั้นถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศถึง 10 เท่า หลังจากได้รับการฝังรากฟันเทียมแล้ว ผู้สูงอายุเหล่านั้นสามารถรับประทานและเคี้ยวอาหารได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้สุขภาพกายและใจดีขึ้น เป็นไปตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตรัสว่า "เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง" จึงทำให้พสกนิกรได้เข้าถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และปัจจุบันสามารถให้บริการผู้สูงอายุไปกว่า 10,000 รายแล้ว ขอบคุณข้อมูลจากเวบ Manager
ข้าวอร่อย
 9.11.2016 : "ปลานิล" ขอใช้บทความต้นฉบับของคุณ Thon Thamrongnawasawat ( อยากให้คงไว้ด้วยคำพูดเดิม ) ทุกคนทราบว่าราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ หลายคนทราบว่าปลานิลมาจากความสัมพันธ์ดังกล่าว แต่น้อยคนทราบว่า #ก่อนปลานิลยังมีปลาบู่ #เมื่อสองกษัตริย์ชวนกันไปชมปลา #การทูตหยุดโลก #คือความหมายของเหลือเชื่อ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ ทรงเป็น “มีนกร” (คำนี้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา เด็กประมง ม.เกษตรศาสตร์ เรียกตัวเองว่า “มีนกร” มาแต่ไหนแต่ไร) พระองค์สนใจเรียนรู้เรื่องปลา จนจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ ขณะนั้นพระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมาร ความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการระหว่างสองกษัตริย์ เริ่มจากกษัตริย์ของไทย เสด็จเยือนญี่ปุ่นในพ.ศ.2506 (27 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน) ก่อนเชิญมกุฎราชกุมารเสด็จเยือนไทย มกุฎราชกุมารจากญี่ปุ่นเสด็จเยือนไทยในเดือนธันวาคม พ.ศ.2507 ในครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และจัดโปรแกรมช่วงหนึ่งให้ “ไปทอดพระเนตรปลา” หากอ่านผ่านๆ คุณอาจไม่คิดอะไร แต่ถ้าพิจารณาสักนิด มกุฎราชกุมารจากญี่ปุ่น มหาอำนาจแห่งเอเชีย เสด็จมาไทยเป็นครั้งแรก เราจะชวนไปดู “ปลา” ไหมครับ ? เป็นใครก็คงส่ายหน้า เป็นใครก็คงคิดไม่ถึง เขามาเยือนเป็นครั้งแรก เราต้องจัดประชุมให้หนัก พูดคุยกันเรื่องการบ้านการเมือง มีงานเลี้ยงใหญ่โต ใครจะคิดถึงโปรแกรม “ไปดูปลา” แต่มหากษัตริย์ไทยคิด และเป็นความคิดที่ “หลุดกรอบ” มากที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอะเจอ คนรุ่นนี้มักพูดกันถึงความคิดแปลกใหม่ เราเบื่อการยึดติด เบื่อโน่นนี่นั่น ถึงเวลานอกกรอบ เคยทราบไหมครับว่าใครคือผู้ “นอกกรอบ” ที่แท้จริง และนอกกรอบมาเมื่อกว่า 50 ปีก่อน คนชอบปลามาเยือน ก็ต้องพาเขาไปดูปลาสิ เป็นความคิดที่ห้าวหาญจนสุดจะจินตนาการไหว เมื่อคิดว่าทั้งผู้ต้อนรับและผู้มาเยือนเป็นกษัตริย์ ไม่มีใครทราบว่ามหากษัตริย์ของไทยคิดเช่นไร แต่ถ้าให้ผมวิเคราะห์ ผมคิดว่าท่านอาจคิดถึงประวัติศาสตร์ เพราะเคยมีคนทำมาก่อนหน้านั้น และทำจนสำเร็จ ย้อนไปเดือนมีนาคม พ.ศ.2433 มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย ตอบรับคำเชิญของรัชกาลที่ 5 ถือเป็นครั้งแรกที่ราชวงศ์ชั้นสูงจากประเทศมหาอำนาจในยุโรป เสด็จมาเยือนไทย ในครั้งนั้นคือการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา รวมถึงการ “คล้องช้างครั้งสุดท้าย” ที่ช้างป่าถูกต้อนมากว่า 300 ตัว กลายเป็นความประทับใจที่ไม่มีวันลืมของมกุฎราชกุมาร ผู้ต่อมาทรงขึ้นเป็นกษัตริย์ซาร์นิโคลัสที่ 2 และเมื่อสยามเดือดร้อนถึงขีดสุด รอบด้านล้วนตกเป็นอาณานิคม มหาอำนาจต่างชาติถึงขั้นเตรียมแบ่งประเทศเรา รัชกาลที่ 5 จำเป็นต้องเสด็จยุโรปเพื่อแสดงว่าเราเจริญแล้ว มิใช่บ้านป่าเมืองเถื่อน ประเทศเดียวที่ต้อนรับเราด้วยไมตรีจิตคือรัสเซีย เมื่อภาพคิงจุฬาลงกรณ์ประทับคู่ซาร์นิโคลัสที่ 2 ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ยุโรป ประเทศอื่นถึงยอมรับและต้อนรับพระองค์ จนทำให้ไทยยังคงเป็นไทยจนทุกวันนี้ และนั่นคือการทูตหยุดโลกที่เริ่มต้นจาก “ช้าง” การทูตหยุดโลกเริ่มต้นอีกครั้ง จาก “ปลา” ที่กษัตริย์แห่งไทยพามกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นไปทอดพระเนตร สถานที่คือพิพิธภัณฑ์ประมง ตั้งอยู่ในคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ที่ทำงานของผม บันทึกบอกไว้ มกุฎราชกุมารทรงพระสำราญมาก หยิบขวดโน้นยกขวดนี้ขึ้นมาดู (สังเกตในภาพ) รวมถึง “ปลาบู่” ปลาบู่ดังกล่าวเป็นปลาบู่ที่พบในเมืองไทยเป็นครั้งแรกของโลก ตัวแรกๆ ที่ค้นพบและถูกนำมาศึกษาจนเป็นตัวอย่างต้นแบบอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ นั่นยังไม่แปลกอะไร แต่ความสำคัญมี 2 ประการ 1) ปลาบู่ชนิดนี้มีชื่อว่า “ปลาบู่มหิดล” ตั้งชื่อเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 2) ปลาบู่ชนิดนี้ค้นพบและตั้งชื่อ โดยดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่นรักปลาเป็นชีวิตจิตใจ เมื่อทราบว่า ปลาบู่ถูกตั้งชื่อตามพระราชบิดาของกษัตริย์ไทย ความประทับใจย่อมก่อเกิด อย่าเอาความคิดเราไปตัดสินครับ ในสายของนักอนุกรมวิธาน การที่จะมีชื่อใครสักคนเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์ชนิดหนึ่ง เป็นเกียรติสุดๆ และชื่อนั้นถูกบันทึกไว้ในพ.ศ.2496 นานแสนนานในครั้งที่โลกเรายังไม่ก้าวหน้าเช่นทุกวันนี้ การตั้งชื่อสัตว์ต้องมีที่มาที่ไป ในครั้งนั้น ดร.สมิธ ถวายชื่อให้เพราะพระบรมราชชนกทรงช่วยกิจการประมงไทยให้ตั้งต้นได้ รวมถึงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ส่งคนไปเรียนเมืองนอกในสาขาวิชาด้านนี้ ก่อนกลับมาเป็นบรมครูสอนพวกเรารุ่นต่อมา ผมยังมีข้อ 2 นั่นคือดร.สมิท ผู้เชี่ยวชาญจากอเมริกา รัชกาลที่ 6 ขอตัวมาเมื่อจัดตั้ง “กรมรักษาสัตว์น้ำ” เพื่อเป็นเจ้ากรมคนแรก เพราะคนไทยยังไม่มีความรู้ทางนี้เลย ดร.สมิท ถือเป็น “ระดับเทพ” แห่งวงการมีนวิทยาในยุคนั้นใครศึกษาเรื่องปลา ล้วนต้องรู้จักท่าน จึงไม่น่าแปลกใจที่มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น ทรงหยิบขวดนี้ขึ้นมาดู พร้อมอุทานว่า “นี่เป็นปลาที่ดร.สมิทเก็บหรือ ?” (มีบันทึกอ้างอิง มิใช่คิดเอาเองครับ) และนั่นคือจุดเริ่มต้นของความประทับใจสุดๆ จนกลายเป็นความสนิทสนมเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อได้ใจ “คนรักปลา” ต่อมาในพ.ศ.2508 พระองค์จึงขอพระราชทาน “ปลานิล” จากมกุฎราชกุมารญี่ปุ่น ผมเชื่อเหลือเกินว่า พระองค์ทรงเล็งเห็นอยู่แล้ว คนไทยต้องการโปรตีนเพื่อพัฒนาร่างกายพัฒนาสมอง แต่โปรตีนจากเนื้อสัตว์อื่นใดล้วนมีราคาแพงเกินกว่าที่ชาวบ้านสามัญชนจะหากินได้ทุกวี่วัน มีแต่ปลาและปลาเท่านั้น ที่ชาวบ้านจับได้กินได้ และคนไทยก็กินปลามาแต่โบราณ เพียงแต่ขาดปลาที่เลี้ยงง่ายโตไวอยู่ได้ในทุกแหล่งน้ำ และไม่รบกวนระบบนิเวศเกินไป ปลานิลอ้วน เนื้อเยอะและอร่อย ปลานิลที่มีถิ่นกำเนิดจากลุ่มแม่น้ำไนล์ จึงเป็นปลาที่น่าจะเหมาะสมที่สุด ตรงนี้มีข้อสงสัย พระองค์ทราบได้อย่างไรว่าต้องเป็นปลานิล ? คำตอบคือเรากำลังพูดถึงใคร ? กรุณาเข้าใจว่าเรากำลังพูดถึง “มหาปราชญ์” มกุฎราชกุมารถวายปลานิล 50 ตัวให้ด้วยความยินดี จากนั้นก็ตายไป 40 ตัว (ตามคำบอกเล่า) เหลือเพียง 10 ตัว พระองค์จึงรีบนำกลับมาเลี้ยงเองในวังสวนจิตรลดา หากใครสงสัยคำว่า “มหาปราชญ์” ที่ผมระบุไว้ น่าจะสิ้นสงสัยตรงนี้ คนที่แต่งเพลงได้เกือบ 50 เพลง สร้างและเล่นเรือใบก็ได้ ทำฝนเทียมก็ได้ เลี้ยงปลาที่คนอื่นเลี้ยงไม่รอดให้รอด คนแบบนั้นควรจะเรียกว่าอะไรครับ ? และอย่าลืมว่าท่านเป็นกษัตริย์ มีภารกิจมากมายมหาศาล มหาปราชญ์จึงเป็นคำที่ถูกต้องทุกประการ ไม่ได้มีการยอยศให้เกินเหตุ หนึ่งปีผ่านไป พระองค์ตั้งชื่อ “ปลานิล” ให้เชื่อมโยงกับชื่ออังกฤษ (Nilotica – ปลาแม่น้ำไนล์) ก่อนพระราชทานให้กรมประมง 10,000 ตัว เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชนเลี้ยง ขอบอกวันที่สักนิด มกุฎราชกุมารถวายปลานิล 50 ตัวในวันที่ 25 มีนาคม 2508 พระองค์มีปลาเหลือ 10 ตัว เลี้ยงและขยายพันธุ์ พระราชทานให้กรมประมง 10,000 ตัว ในวันที่ 17 มีนาคม 2509 ในเวลาไม่ถึง 1 ปี ปลา 10 ตัวกลายเป็น 10,000 ตัว (ยังไม่รวมที่พระองค์เก็บไว้) ผมไม่ทราบจะอธิบายเช่นไร ? มีอิทธิฤทธิ์ บุญบารมี ? แต่มีคำบอกเล่าว่า พระองค์ไม่ทรงเสวยปลานิล ด้วยเหตุผลง่ายๆ “เลี้ยงมาเหมือนลูก จะไปกินลงได้อย่างไร” (ถ้อยคำจากคำบอกเล่า) บุญบารมีคงมีจุดเริ่มมาจาก “เลี้ยงมาเหมือนลูก” ทรงทุ่มเทฟูมฟัก เหมือนเศรษฐีดูแลเอาใจใส่ปลาราคาแพง เพื่อเลี้ยงไว้ประดับบารมี เผอิญพระองค์ฟูมฟักปลานิล ไม่ใช่เพราะสวยดีประดับบารมีได้ แต่เพราะปลานิลคือปลาที่พระองค์ตั้งใจไว้ว่าจะเป็นทางออกให้ประชาชนชาวสยาม เวลาผ่านมา 50 ปี ผมไม่ต้องหาตัวเลขใดๆ มายืนยันว่าพระองค์ประสบความสำเร็จ ขอเพียงคุณเดินไปตามตลาด คุณเห็นปลานิลย่างปลานิลทอดบนตะแกรงบ้างไหม ? มีปลาใดราคาถูกเท่านี้ มีเนื้อมากเท่านี้ และทุกคนกินได้กินดี ดังเช่นปลานิล ผมเพิ่มตัวเลขให้เพื่อความชัดเจน ปัจจุบัน เมืองไทยผลิตปลานิลได้ปีละ 220,000 ตัน จากฟาร์ม 300,000 แห่ง สร้างงานให้ผู้คนเรือนล้าน ประเทศไทยยังส่งออกปลานิลไปทั่วโลก สร้างรายได้มหาศาล จนเป็นปลาส่งออกลำดับต้นๆ ของเมืองไทย นำทุกอย่างกลับมาคิดใหม่ 2506 เสด็จเยือนญี่ปุ่น 2507 มกุฎราชกุมารเสด็จมา พาไปดูปลาบู่ 2508 ขอปลานิลมาเลี้ยง 50 ตัว 2509 พระราชทานปลา 10,000 ตัวให้กรมประมง 2559 ปลามากกว่า 220,000 ตันต่อปี สร้างงานให้คนนับล้าน เป็นโปรตีนราคาถูกและดีที่สุดของประเทศนี้ ผมพูดถึง “การทูตหยุดโลก” มาหลายครั้ง แต่ยังไม่อธิบายความหมายให้ชัดเจน ตอนนี้ถึงเวลาแล้ว การทูตหยุดโลก = ปลาบู่ = ปลานิล = คนไทยมีกิน = คนมีงานทำ เป็นสมการแสนง่าย แต่ใคร่ขอถามว่า แล้วใครจะคิดได้ ? แล้วใครจะคิดได้เมื่อกว่า 50 ปีก่อน แล้วใครจะมองการณ์ไกลขนาดนั้น สมัยผมเป็นสปช. เราช่วยกันทำยุทธศาสตร์แห่งชาติ 20 ปี แค่นั้นยังปวดหัวแทบตาย บางคนพูดว่าจะคิดไปได้ยังไงไกลขนาดนั้น บางคนบอกว่าสิงคโปร์มาเลเซียเขาทำหมดแล้ว เขาก้าวหน้าไปไกลกว่าเราตั้งนาน 20 ปี ? ก้าวไกลไปกว่าเราตั้งนาน ? 50 ปี ปลาบู่ ปลานิล คน 66 ล้าน คิดคนเดียว ทำจนจบ ยังไม่พูดถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นของสองประเทศ ไม่พูดถึงปรากฏการณ์ที่ไม่มีมาก่อน เมื่อองค์จักรพรรดิญี่ปุ่น “ไว้ทุกข์” ให้พระสหายผู้สนิทสนมกว่า 50 ปี ไว้ทุกข์ให้คนที่พาเราไปดูปลาบู่ในวันนั้น ไว้ทุกข์ให้กับ “บุรุษผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในเรื่องปลา” ไม่ใช่ค้นพบปลาสายพันธุ์ใหม่ ไม่ใช่เชี่ยวชาญเก่งกาจในวิทยาศาสตร์เรื่องปลา แต่ทำให้ปลา 10 ตัวกลายเป็น 220,000 ตันต่อปี ทำให้ “ปลา” กับ “คน” มาเชื่อมต่อกันอย่างสุดที่ใครจะเปรียบได้ ผมไม่ตั้งใจเขียนบทความนี้ให้คุณร้องไห้ เพราะผมเขียนไม่ไหวแล้ว บทความ “โลกร้อน” ทำเอาผมเกือบตาย ผมตั้งใจจะสื่อให้ชัดเจนว่า ทำไมผมถึง “กราบ” ? ผมไม่เคยกราบเพราะเขาบอกให้กราบ ไม่เคยกราบเพราะเขาสอนให้กราบ ไม่เคยกราบเพราะคนอื่นเขากราบกัน ผมไม่กราบอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ผมกราบ “ความจริง” เท่านั้น ผมกราบสยบแทบเท้า กราบด้วยหัวจิตหัวใจ กราบเพราะผมเห็นประจักษ์ กราบแทบเท้าพระองค์ท่าน คำว่า “เหลือเชื่อ” ถูกใช้กันจนเกร่อ แต่สำหรับผมแล้ว อย่างนี้สิถึงเป็น “เหลือเชื่อ” คิดได้ไง...ทำได้ไง...เหลือเชื่อ จึงทรุดกายกราบซบหน้าแนบดินด้วยความอาลัย บุรุษผู้สร้างสิ่งที่ไม่สามารถแม้แต่จะจินตนาการได้ อย่างนี้สิมันถึงต้องกราบ อย่างนี้สิมันถึงต้องร้องไห้ ร้องให้ใจสลาย... ร้องเพราะยิ่งค้นยิ่งเขียน จึงยิ่งรู้ว่า เราสูญเสียมากเกินไป มันมากเกินไปจริงๆ ! ....... ทุกอย่างย่อมมีรากเหง้า ทุกเรื่องราวย่อมมีที่มา และนี่คือที่มา จากปลาบู่ถึงปลานิล จะยอมตาย หมายให้ เกียรติดำรง จะปิดทอง หลังองค์ พระปฏิมา ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 
ปลานิล
 10.11.2016 : "ห่มดิน" การห่มดิน เป็นวิธีการทำเพื่อให้จุลินทรีย์ในดินมีความอุดมสมบูรณ์ ถ้าเปลือยดินไว้จะทำให้จุลินทรีย์ตาย ต้นไม้จะไม่สามารถเจริญเติบได้ การห่มดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการดูแลและรักษาดินอีกทางหนึ่ง คือ “การห่มดิน” เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นจุลินทรีย์ทำงานได้ดี อันจะส่งผลให้ดินบริเวณนั้นทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ การห่มดินมีหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดิน หรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ตามสภาพทั่วไปของพื้นที่ การใช้พรมใยปาล์ม (wee drop) ซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้น ๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่นเป็นผ้าห่มดิน นอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้ว การห่มดินยังจะช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้หรือพืชหลักอีกด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ somkait hoonsakul
ห่มดิน
 11.11.2016 : " สานต่อที่พ่อทำ " ภาพนี้เป็นภาพสุดท้าย ที่ผมตั้งใจไว้ว่าจะทำ ๓๐ วัน ๓๐ ภาพ เป็นภาพที่ประกอบไปด้วยคนตัวจิ๋ว 89 ตัว สิ่งที่ผม ในฐานะประชาชนชาวไทยคนหนึ่งจะทำอะไรเพื่อพระองค์ท่านได้ ก็คงเป็นการศึกษาสิ่งที่พระองค์ท่านได้สร้างไว้และตั้งใจที่จะ "สานต่อที่พ่อทำ" ให้คงอยู่ตลอดไป สานต่อ ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และปฏิบัติสืบต่อไป หลังจากนี้ผมก็ยังคงทำมันต่อไป ไม่ได้หยุดอยู่แค่ 30 ภาพนี้ ทำเท่าที่แรงกายและมันสมองผมจะทำได้ ทำในสิ่งที่พระองค์ท่านสอน และเผยแพร่เป็นตัวอย่างให้ผู้อื่น หวังว่าทั้งหมดที่ผมทำไป จะทำให้ทุกคนระลึกถึงพระองค์ท่านและบางภาพคงเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังต่อไป . "๓๐ วัน ๓๐ ภาพ : พระองค์จะสถิตอยู่ในดวงใจปวงชนตลอดไป" . 

สวัสดีครับ
#สานต่อที่พ่อทำ

สานต่อที่พ่อทำ

เรื่องโดย: KON-TUA-JEW
source : freesplans.com

พื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาสามารถนำไปยังทุกๆฟังก์ชันในบ้านได้

ตามที่เจ้าของที่เป็นวิศวกรโครงสร้างแผ่นเหล็กถูกนำมาใช้เป็นวัสดุ แนวความคิดในการสั่งซื้อเพื่อเป็นตัวแทนของอาชีพของเจ้าของ วัสดุนี้จะนำเสนอในพื้นที่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงทุกที่จะสามารถนำทางผู้ใช้ทุกฟังก์ชั่นในบ้าน แผ่นเหล็กจะไม่ทาสีหรือตกแต่งด้วยเครื่องประดับเพราะสถาปนิกต้องการนำเสนอความสวยงามของวัสดุดั้งเดิม.

© Chaiyaporn Sodabunlu

ลานถูกออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอกอาคารเข้าด้วยกัน ดังนั้นแสงธรรมชาติสามารถเข้าถึงได้ในทุกพื้นที่รอบลานบ้าน เพื่อให้ผู้ใช้เก็บไว้ในความรู้สึกของความสะดวกสบาย ความสงบและมีชีวิตชีวาเพราะอากาศที่สามารถไหลผ่านได้เป็นอย่างดีเป็นลานเชื่อมต่อกับพื้นที่ของบ้าน.

© Chaiyaporn Sodabunlu© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu

© Chaiyaporn Sodabunlu© Chaiyaporn Sodabunlu

เรียบเรียงข้อมูล @ ฟรีแปลน
Architects: b l a n k s t u d i o
Location: Chiang Mai, Thailand
Design Team: Ukrit Borwornsin, Satawatch Katlivong, Palida Settasuporn, Naphitchaya Phermsang-ngam
Area: 300.0 m2
Project Year: 2017
Photographs: Chaiyaporn Sodabunlu
Manufacturers: Lamptitude
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...