ความหนา (Thickness)
BMT = Base Metal Thickness เป็นความหนาของเหล็กที่แท้จริงก่อนชั้นเคลือบ
จะมีใบรับรองความหนาจากผู้ผลิต
เป็นความหนาที่ใช้ในการอ้างอิงตามมาตรฐานสากล มีความผิดพลาดน้อย
TCT = Total Coating Thickness เป็นความหนา หลังจากการเคลือบผิวโลหะ
มักจะได้จากการคำนวณ หรือประมาณ ที่ไม่ได้จากการวัดความหนาจริง
มีความผิดพลาดพอสมควร มักจะใช้อ้างอิงมากที่สุดในวงการ Metal Sheet
ของประเทศไทย
TPT = Total Paint Thickness เป็นความหนาที่ใช้ของ เหล็กเคลือบสี เท่านั้น
เป็นการรวมทั้งหมด ของ ความหนาเหล็ก ชั้นเคลือบโลหะ และความหนาสี
มักจะเป็นตัวเลขจากการประมาณ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ เพราะมีความผิดพลาดสูง
ความหมายของ BMT, TCT, และ TPT
แผ่นหลังคาเหล็กเคลือบ – Metalsheet ได้ผ่านขบวนการชุบผิวโลหะหรือเคลือบสี
ทำให้มีความหนาแตกต่างกันดังนั้นต้องมีการระบุ
และสื่อความหมายให้แน่นอนถูกต้อง ระหว่าง สถาปนิก ผู้รับเหมา และเจ้าของงาน
ว่าความหนาที่ใช้ เป็นความหนาประเภทใด เช่นรวมชั้นเคลือบ
หรือก่อนชั้นเคลือบเป็นต้น เนื่องจากจะมีผลต่อราคาต่อแผ่น
และคุณภาพของเมทัลชีท - Metal Sheet
โดยสรุป ในการเลือกความหนาของหลังคาเหล็ก - Metal Sheet
และการสื่อสารระหว่าง ผู้ออกแบบ สถาปนิก ผู้ผลิต และผู้ใช้งาน
ควรใช้ความหนา BMT ทั้งนี้เนื่องมาจากความถูกต้องมีใบรับประกัน (Test
Certificate) จากผู้ผลิตเหล็ก
ข้อแนะนำในการเลือกความหนาเหล็ก
1. ความหนา 0.30 mm (BMT) เหมาะสำหรับงานหลังคาขนาดเล็ก งานผนัง ประหยัด เช่นโรงรถ กันสาด ที่มีระยะแป ไม่เกิน 1.2 เมตร
2. ความหนา 0.35-0.40 (BMT) เหมาะสำหรับ งานหลังคาอาคารขนาดปานกลาง และงานผนังทั่วไป
3. ความหนา 0.42 (BMT) เหมาะสำหรับ งานหลังคามาตรฐาน ขนาดกลางถึงใหญ่
เป็นความหนาที่แนะนำสำหรับงานที่มีคุณภาพสูง และเป็นไปตาม Australian
Standard สามารถใช้กับระยะแปได้ถึง 1.5 เมตร (ขึ้นกับรูปลอนของเมทัลชีทด้วย
)
4. ความหนา 0.48 (BMT) เหมาะสำหรับงานมาตรฐานที่ต้องการความแข็งแรง
และความกว้าง ของแป มากเป็นพิเศษ สามารถใช้ได้กับระยะแป ถึง 2.5 เมตร
(ขึ้นกับรูปลอนของเมทัลชีทด้วย )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น